11/06/2551

ข้อสอบระบบสื่อสารข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ข้อสอบปลายภาควิชา

ระบบการสื่อสารข้อมูล 2/47

ตอนที่11.พื้นที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไร
ก.AP
ค.ESS
ข.BSS
* ง.DCF
2.ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่
ก. 902 MHz-928 MHz
ข.2.400 GHz-204835 GHz
ค.5.725GHz-5.855GHz
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข.
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3-8 **เขียนคำตอบลงในช่อง ก.
A. industry
B. Science
C. Medical
D. 900 MHz
E. 2.400 GHz
F. IEEE802.11a
G. IEEE802.11b
H. 54 Mbits
I. 2 Mbits
J. 11 Mbits
K. DSSS
L. FHSS
M. ISM
**F 3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism
แบบOFDM
**E 4.Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11
**K 5.IEEE802.11ใช้ mechanism แบบใด
**K 6.Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits
**M 7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์
8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channel
ก. 54
*ข. 69
ค. 79
ง. 8
9. ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่
*ก. 0.4 ms per hop
ข. 0.45 ms per hop
ค. 0.2 ms per hop
ง. 0.25 ms per hop
10. สถาปัตยกรรมของ Wireless lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire network
ก. Ad-hoc
ข. Peer to peer
*ค. Infrastructure
ง. Bss
11. Routing protocol มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ก. 2 แบบ Link state & Distance Vector
ข. 2 แบบ Link state & Dynamic
*ค. 2 แบบ Dynamic & Static
ง. 2 แบบ BGP & SPF
12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ routing ที่ดี
ก. Cost ต่ำ
ข. Delay ต่ำ
*ค. Space ต่ำ
ง. Hop ต่ำ
13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไร
ก. จำนวนลิงค์
ข. ระยะทาง
*ค. จำนวน Router
ง. ราคาเช่า
14. ลักษณะสำคัญของ Routing table ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ต้นทาง
ข. ปลายทาง
ค. ต้นทาง ปลายทาง
*ง. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง
15. OSFP (Open Shortest Path First) เป็นชื่อของ
ก. Algorithm
*ข. Protocol
ค. Router

16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ- ส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ
ก. Grade index Multimode
ข. Step index Multimode
*ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไร
ก. Jacket ค. Claddin
*ข. Core ง. Fiber
18. แสงที่เดินทางในเส้นใยแก้วนำแสงจะตกกระทบตรงมุม คือลักษณะของเส้นใยแบบ
ใด
ก. Grade Index Multimode
*ข. Step Index Multimode
ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
19. แสงที่เดินทางในเส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นเส้นตรง คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบ
ใด
ก. Grade Index Multimode
ข. Step Index Multimode
*ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
20. ต้นกำหนดแสง(optical source) ที่มี Power ของแสงเข้มข้น
*ก. Laser
ข. LED
ค. APD
ง. PIN-FET
21. ข้อใดคือ Fast Ethernet
ก. 10base5
*ข. 100baseFL
ค. 1000baseFX
ง. 10GbaseTX
22. 10BaseF ใช้สายสัญญาณอะไรในการส่งข้อมูล
ก. UTP ค. Coaxial
ข. STP * ง. Fiber Optic
23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 100 mbps
ก. 1000BaseT
*ข. 100BaseTX
ค. 1000BaseX
ง. 1000BaseFL
24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigbit Ethernet คือ
ก. 53 byte
ข. 64 byte
ค. 128 byte
ง. 512 byte
25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูล
ก. LLC
ข. CSMA/CA
*ค. CSMA/CD
ง. ALOHA
26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุด
ก. 80 ม.
*ข. 100 ม.
ค. 150 ม.
ง. 185 ม.
27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Ethernet
ก. OSI
*ข. IEEE
ค. ISO
ง. CCITT
28. 10Base5 ใช้สาย Coaxial แบบใด
ก. Thin
*ข. Thick
ค. UTP
ง. STP
29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใด
ก. 10 mbps
*ข. 100 mbps
ค. 1000 mbps
ง. 10 Gbps
30. 100Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือมาตรฐาน
ของ
ก. 1000 Base-LX
*ข. 1000 Base-FX
ค. 1000 Base-T2
ง. 1000 Base-T
31. ATM มีขนาดกี่ไบต์
ก. 48 ไบต์
*ข. 53 ไบต์
ค. 64 ไบต์
ง. 123 ไบต์
32. CSMA พัฒนามาจาก
ก. CSMA/CA
ข. CSMA/CD
ค. CSMA
*ง. ALOHA
33. Internet เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร
ก. AU
ข. JP
*ค. USA
ง. TH
34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport technology
*ก. SDH
ข. ATM
ค. Mobile
ง. DWDM
35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
ก. CS internet
ข. Operator
ค. Admin
*ง. ISP
36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไร
ก. DNS
ข. FTP
ค. DHCP
*ง. Proxxy
37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
ก. DNS
*ข. FTP
ค. DHCP
ง. Proxxy
38. โปรโตคอลการสื่อสารที่เป็น offline
ก. ICMP
ข. TCP
ค. UDP
*ง. ARP
39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่า
ก. Routing
*ข. Routing Protocol
ค. Routing Table
ง. Router
40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำ server 7 พ.ค 48
ก. DHCP
ข. DNS
ค. FTP
ง. Virtual host
41. หมายเลข IP Class ใดรองรับการทำงานของ host ได้สูงสุด
ก. A
*ข. B
ค. C
ง. D
42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem
*ง. Router
43. การ set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ packet เป็นหน้าที่ของ
function ใดต่อไปนี้
ก. PIFS
*ข. SIFS
ค. DIFS
ง. MIB
44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใด
ก. ALOHA
ข. CSMA
ค. CSMA/CA
*ง. CSMA/CD
45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ใช้ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก
mechanism (กลไกการส่ง) แบบใด
ก. IEEE802.11a; DSSS
ข. IEEE802.11b; FHSS
ค. IEEE802.11a; OFDM
*ง. IEEE802. 11b; OFDM
46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem
*ง. Router
47. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือ
ก. Hub
*ข. Switching
ค. Modem
ง. Router
48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใด
ก. Diffuse IR
ข. DSSS
ค. OFDM
*ง. FHSS
49. CIDR 192.168.0.0/24 จะมีค่า subnet mask เท่าใด
ก. 255.255.0.0
ข. 255.255.128.0
ค. 255.255.255.0
*ง. 255.255.255.192
50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
ก. AP กับ AP
*ข. AP กับ AP
ค. AP กับ BSS
ง. BSS กับ ESS


10/30/2551

Topology

Topology
การจัดรูปโครงสร้างของอุปกรณ์สื่อสารเพื่อจัดตั้งเป็นระบบเครือข่าย
สามารถกระทำได้หลายแบบดังนี้
1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก
เรียกว่า การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)
ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน เป็นต้น
2. ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลัก
ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)
เครือข่ายในเขตเมือง (MAN)
เครือข่ายวงกว้าง (WAN)
และเครือข่ายสหภาค (Internetwork)
3. ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กร เช่น

เครือข่ายอินทราเนต (Intranet)
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเนต( Extranet) และเครือข่ายสากล
(Internet)
การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)วิธีการอธิบายระบบเครือข่ายแบบหนึ่ง
คือการพิจารณาจากรูปทรงของระบบเครือข่าย
ดังรูปที่ 2.13 , 2.14 และ 2.15
คือระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน ตามลำดับ
ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)
ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server)
ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นแลอุปกรณ์ที่เหลือ
ระบบนี้เหมาะกับการประมวลผลที่ศูนย์กลางและส่วนหนึ่งทำการประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้
(Client or Work Station) ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่เครื่อง
Host คือ การสื่อสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งผ่านเครื่อง Host ระบบจะล้มเหลวทันทีถ้าเครื่อง
Host หยุดทำงานภาพที่ 2.11 :
เครือข่ายแบบดาว ( star )
ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Toplogy)เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว อาจใช้สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเซียล
หรือสายใยแก้วนำแสงก็ได้ สัญญาณที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะการกระจายข่าว
(Broadcasting) โดยไม่มีอุปกรณ์ตัวใดเป็นตัวควบคุมระบบเลย
แต่อาศัยซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร
ในระบบบัสนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวที่สามารถส่งสัญญาณออกมา
อุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะ
ไม่มีผู้ใดส่งสัญญาณออกมาจึงจะส่งสัญญาณของตนออกมาได้
ถ้าหากส่งออกมาพร้อมกันจะเกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ทำให้สัญญาณเกิดความเสียหายใช้การ

ไม่ได้ และระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำถ้ามีอุปกรณ์เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
ระบบเครือข่ายวงแหวนจะมีลักษณะคล้ายเครือข่ายบัสที่เอาปลายมาต่อกัน
โดยไม่มีอุปกรณ์ใดเป็นตัวควบคุมการสื่อสารของระบบเลย และข้อมูลในวงแหวนจะเดินไปในทิศทางเดียวกัน

เสมอ
ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลระบบเครือข่ายในลักษณะนี้
ได้ให้คำจำกัดความจากตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตวงกว้างของการใช้งาน
ซึ่งแบ่งได้หลายอาณาเขต
1. เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (Local Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแลน (LAN)
2. เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแมน (MAN)
3. เครือข่ายวงกว้าง (Wide Area Networks) หรือเครือข่ายแวน (WAN)เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)
มีขอบเขตการทำงานแคบ มักอยู่ในอาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน
หรือหลายอาคารที่อยู่ติดกัน ไม่เกิน 2,000 ฟุต ระบบ LAN
ได้รับความนิยมมากในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สำนักงานเข้าด้วยกัน โดยมีสายนำสัญญาณการสื่อสารที่เป็นของ

ตนเอง
โดยใช้ Topology แบบบัส หรือวงแหวนและมีช่องสื่อสารที่กว้าง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน
อุปกรณ์ระบบแสดงผล พิมพ์งาน และการรับส่งข้อมูลข่าวสารในสำนักงานทำงานร่วมกันได้
ถ้าหากการใช้งานในบางจุดของสำนักงานไม่สามารถเดินสายเคเบิลได้
หรือมีข้อจำกัดด้านการติดตั้งและลงทุนเช่น การต่อสาย LAN ข้ามตึก
หรือระหว่างชั้นสำนักงาน ก็สามารถประยุกต์ใช้ระบบ LAN ไร้สาย ตามที่กล่าวไปแล้วได้
รูปที่ 2.17 แสดงถึงการต่อวง LAN วงหนึ่งในลักษณะ Ring
มักมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น Host หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งคล้ายกับบรรณารักษ์
คอยจัดเก็บโปรแกรมและฐานข้อมูล และควบคุมการเข้าใช้ของ User
แต่ละคน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server นี้มักมีหน่วยความจำใหญ่และ
มีหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าพีซีปกติ
ความสามารถในการทำงานของระบบแลนถูกกำหนดโดย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System ; NOS )
ที่ติดตั้งอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องหรืออาจอยู่ที่เครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว
ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในการ กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลในเครือข่ายและ
จัดการบริหารการสื่อสารตลอดจนควบคุมการใช้งานทรัพยากรทั้งหมดในเครือข่าย
ตัวอย่างซอฟท์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Novell Netware ,
Microsoft Windows 2000 Server ,
IBM’s OS/2 Warp Server เป็นต้น
ซึ่งซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่ใช้บนระบบเครือข่าย LAN ในปัจจุบันมักนิยมทำงานในแบบ
ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client / Server System)
โดยที่เครื่องผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลและโปรแกรมให้ผู้ใช้บริการ
ระบบเครือข่ายในเขตเมือง (MAN)
โดยพื้นฐานแล้วระบบเครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network)
มีลักษณะคล้ายกับระบบ LAN แต่มีอาณาเขตที่ไกลกว่าในระดับเขตเมืองเดียวกัน
หรือหลายเมืองที่อยู่ติดกันก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้บริการของเอกชนหรือรัฐก็ได้
เป็นการบริการเฉพาะหน่วยงาน มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งรับและส่งข้อมูล ทั้งภาพและเสียง
เช่นการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable TV)
ระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN)
เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ
แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมด
นั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร
โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
(Public Switching Telephone Network ; PSTN)
ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า
(Lease Line)
ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กรระบบอินทราเนต
(Intranet) ในปัจจุบันบางองค์กรได้จำลองลักษณะของอินเตอร์เนตมาเป็นเครือข่ายภายในและ
ใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกันในองค์กร
เฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับองค์กรอื่นภายนอก
ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขาก็ได้ หรือจะอยู่คนละภูมิประเทศก็ได้
สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้โดยการใช้ Web Browser
เขียนเป็น Home Pages เหมือนอินเตอร์เนตโดยทั่วไป ด้วยกราฟฟิก ภาพ ข้อความ เสียง
และมี Function ต่างๆ เช่น Web-board การ Log-in
การเปิดหน้าต่าง Browser ด้วยวิธีการคลิ๊กทีละ Page นำเสนอข้อมูลที่สวยงาม
ง่ายต่อการเข้าใจ มีระบบจดหมายอีเลกทรอนิกส์ มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว
มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ ตัวอย่างของระบบอินทราเนต ที่นิยมใช้กันมาก
ได้แก่ ระบบซอฟท์แวร์ Lotus-Note ของบริษัท IBMข้อดีของอินทราเนตที่องค์กรต่างๆนิยมใช้เพราะ
เป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร คาวมเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นเฉพาะองค์กร
การป้องกันการรั่วไหลของความลับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันระบบอินทราเนตสามารถเชื่อมต่อ

กับระบบอินเตอร์เนตภายนอกได้ทันที เพราะอาศัย Protocol
มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกันระบบเอ็กทราเนต
(Extranet) เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร
(Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน
ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน
บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน
ระบบเอ็กทราเนตจะอาศัยโครงสร้างของอินทราเนต
และอินเตอร์เนตในการทำงานสื่อสารระหว่างองค์กร
แต่อาจอาศัยเครือข่ายเฉพาะส่วนบุคคล (Virtual private Networks ; VPN)
ซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย
มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน
ปัจจุบันนิยมมากในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า (Alliance)
ที่ต้องอาศัยข้อมูลของบริษัทร่วมกัน (Collaboration Commerce ; C-Commerce)
เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบ สนทนา แบบ Real timeระบบอินเตอร์เนต (Internet)
เป็นระบบที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอยู่เป็นประจำ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
เชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้เป็นระบบเดียว จึงเป็นระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
และมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะมีประโยชน์ในวงการต่างๆ
มากมายอินเตอร์เนตที่ทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้เพราะมีมาตรฐานหรือโปรโตคอลที่ชื่อว่า
TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้โดยผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider ; ISP )
ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเสมือนศูนย์กลางการสื่อสารคอยติดต่อประสานงานกับวงอินเตอร์เนตอื่นๆทั่วโลก
เสมือนสำนักงานไปรษณีย์ที่คอยส่งจดหมายไปตามที่อยู่ (IP Address)
ของผู้รับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตในประเทศไทยปัจจุบันได้แก่ Loxinfo ,
CS Communication , Internet KSC , AsiaNet ,
Telecomasiaหรือแม้แต่องค์การโทรศัพท์หรือ ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด
ในปัจจุบันก็หันมาทำธุรกิจให้บริการอินเตอร์เนตด้วย
IP Address
หรือบ้านเลขที่บนอินเตอร์เนต ถ้าเปรียบอินเตอร์เนตเป็นเมืองขนาดใหญ่
และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นบ้านที่มีถนนเชื่อมถึงกัน
เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นย่อมต้องมีเลขที่บ้านเพื่อให้รู้ตำแหน่งกันโดย
ไม่ซ้ำกับเครื่องใดในโลก IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด ต่อกัน
โดยมีจุดเป็นสัญญลักษณ์แบ่งตัวเลข แต่ละชุดมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 โดยสามารถทำการขอเลข
IP ได้จากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจาก InterNIC
(Internet Network Information Center) เช่นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตทั่วไป
Internet Address
คงไม่มีใครอยากจะจดจำ IP Address เพราะเป็นชุดตัวเลขที่ยาวมาก
ไม่สะดวกต่อการจดจำและเรียกใช้ลำบาก จึงมีการกำหนดชื่อเรียกขึ้นมาแทน
IP Address เหมือนการจดทะเบียนการค้า มีเลขทะเบียนการค้าแล้ว
แต่ต้องจดทะเบียนชื่อห้างร้านด้วย Internet Address อยู่ในรูปของตัวอักษร
นิยมตั้งให้จำได้ โดยมากใช้ชื่อองค์กรหรือชื่อที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาหรือ
วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือบุคคลเจ้าของ Website นั้นๆ
โดยมีตัวย่อหลังเครื่องหมายจุดในอินเตอร์เนตแอดเดรสเป็นตัวระบุความแตกต่างกันของขนิดองค์กร
ที่พบบ่อยๆ ได้แก่
ส่วนอินเตอร์เนตแอดเดรสในประเทศไทย
มักมี.th ตามต่อท้ายเพื่อให้ทราบว่ามี IP อยู่ในประเทศไทยเป็นการกำหนดตำแหน่งประเทศ
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น co.th , ac.th , go.th , or.th เป็นต้นบริการต่างๆในอินเตอร์เนต
ตัวอินเตอร์เนตเอง คือระบบที่สร้างขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลแต่ข้อมูลที่จะเชื่อมต่อ
กันบนอินเตอร์เนตอาจอยู่ในรูปแบบใดๆก็ได้ ขึ้นกับความต้องการผู้ใช้ โดยมากที่เราพบเห็นจะอยู่ในรูปแบบ
www (World Wide Web หรือที่เรารู้จักกันว่า Web site)
แต่อินเตอร์เนตมีรูปแบบที่ให้บริการต่างๆได้มากมาย อาทิ
1. เครือข่ายใยพิภพ (เครือข่ายใยแมงมุม) World Wide Web
ประกอบไปด้วย Website ต่างๆมากมายบนโลก
2. บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) ที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักก็คือ
โปรแกรม OutLook หรือบริการ e-mail บนเว็บยอดฮิตก็ Hotmail ที่รูจักกันดี
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol ; FTP)
บริการให้ Up – Down load แฟ้มข้อมูลต่างๆ
4. Usenet บอร์ดข่าวสารบนอินเตอร์เนต
5. ระบบการสนทนาโต้ตอบแบบทันที (Internet Relay Chat ; IRC)
6. Internet Phone หรือ Voice Mail ที่สามารถใช้เสียงพูดคุยผ่านอินเตอร์เนต (VoiceOverIP)
7. การให้บริการแฟกซ์ผ่านอินเตอร์เนต (Internet Fax)
8. การให้บริการภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เนต (Streaming audio and video)


ข้อสอบปรนัย5ข้อ
1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก เรียกว่าอะไร
ก.การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)
ข.การรักษาเครือข่าย
ค.การาดูแลเครือข่าย
ง.ถูกทุกข้อ
2.ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลักได้แก่
ก.เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)
ข.เครือข่ายในเขตเมือง (MAN)
ค.เครือข่ายวงกว้าง (WAN)
ง.ถูกทุกข้อ
3.ระบบเครือข่ายแบบดาว ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า
ก.โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์
ข.ดาว
ค.ถูกทุกข้อ
ง.ไม่มีข้อถูก
4.ข้อใดไม่ใช่ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูล
ก.เครือข่ายเฉพาะบริเวณ
ข.เครือข่ายในเขตเมือง
ค.เครือข่ายวงกว้าง
ง.ไม่มีข้อถูก
5.ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน มีลักษณะอย่างไร
ก.ระบบเครือข่ายวงแหวนจะมีลักษณะคล้ายเครือข่ายบัสที่เอาปลายมาต่อกัน
ข.มีลักษณะเป็นวงกลม
ค.มีลักษณะสี่เหลี่ยม
ง.มีลักษณะวงรี

10/16/2551

e-learning

http://e-learning.tu.ac.th/
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://e-learning.mfu.ac.th/
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
http://regelearning.payap.ac.th/
มหาวิทยาลัยพายัพ
http://elearning.utcc.ac.th/lms/main/default.asp
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://md.rmutk.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
http://e-learning.kku.ac.th/
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://space.kbu.ac.th/el/index.asp
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
http://elearning.dusit.ac.th/xedu/Home.aspx
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
http://sutonline.sut.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=7790
มหวิทยาลัยเทคโนดลยีสุรนารี
http://www.academic.hcu.ac.th/e-learning/e-learning.html
มหวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย รหัสวิชา 4122102

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย รหัสวิชา 4122102

>>ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับ
เทอร์มินอลขั้นของ โปรโตคอลมาตราฐาน OSI รูปแบบต่างๆของเตรื่อข่าย
X.25Networkและดิจิตอล Network การประมวลผลแบบตาม ลำดับและแบบ
ขนาน การไปป์ไลน์(Pipelining) การประมวลผลแบบ เวคเตอร์ ( vecter
Processing )การประมวลผลแบบอะเรย์ ( Array Processors ) มัลติโพร
เซสเซอร์และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ ( Fault Tolerance )

9/04/2551

ออกแบบ optical fiber communication

ข้อ1.
30 mbit ระยะทาง 45 km


1.Preformanc = ไม่ระบุ
2.BL = 30*45 =1,350
3.เลือก optical source เลือก LED power ที่ -15
เพราะ ราคาประหยัด
4.เลือก optical fiber เลือก Graded Index Multimode
เพราะ ลองรับ BL แบร์นวิด ที่ 1.5 GHz/km
5.เลือก optical detector เลือก PIN - FET มีค่า sensitivity -60
เพราะ ราคาประหยัด
6.Lmax = Po – Por
แทนค่า (-15) - (-60)
= 65
7.Lf = Lmax (Lc + Ls + Pm)
กำหนด Lc = 0.50
กำหนด Ls = 1db
กำหนด Pm = 6db
แทนค่า Lf = 65- (0.50 +1 +6
= 57.50
8.Dmax = Lf/Lfimax
Lf = 57.50
Lfimax = 2
แทนค่า 57.50/2
= 28.75km


ข้อ2.
50 mbit ระยะทาง 100 km

1.Preformanc = ไม่ระบุ
2.BL = 50*100 = 5,000
3.เลือก optical source เลือก LED power ที่ -20
เพราะ ราคาประหยัด
4.เลือก optical fiber เลือก Graded Index Multimode
เพราะ ลองรับ BL แบร์นวิด ที่ 1.5 GHz/km
5.เลือก optical detector เลือก PIN - FET มีค่า sensitivity -50
เพราะ ราคาประหยัด
6.Lmax = Po – Por
แทนค่า (-20) - (-50)
= 70
7.Lf = Lmax (Lc + Ls + Pm)
กำหนด Lc = 0.50

กำหนด Ls = 1db

กำหนด Pm = 5db

แทนค่า Lf = 70- (0.50 +1 +5)

= 31.75
8.Dmax = Lf/Lfimax
Lf = 63.50
Lfimax = 2
แทนค่า 63.50/2
= 31.57km

9/02/2551

เส้นใยแก้วนำแสง

เครือข่ายความเร็วสูง
SDH ย่อมาจาก Synchronous Digital Heirarchy SDH เป็นคำศัพท์ที่มีความหมาย
ถึงการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูง ซึ่งโดยปกติใช้
สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายในเป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม
และมีการซิงค์บอกตำแหน่ง เริ่มต้นเฟรมเพื่อให้อุปกรณ์รับตรวจสอบสัญญาณ
ข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น
และจัดรวมกันเป็นลำดับ เพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้วนำแสง ความเป็น
มาของ SDH มีมายาวนานแล้ว เริ่มจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์
ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ได้เปลี่ยนเป็นดิจิตอล โดยช่องสัญญาณเสียงหนึ่งช่อง
ใช้สัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิต แต่ในอดีตการจัดมาตรฐานลำดับชั้นของ
เครือข่ายสัญญาณเสียงยังแตกต่างกัน เช่นในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณ
เสียง 24 ช่อง เป็น 1.54 เมกะบิต หรือที่เรารู้จักกันในนาม T1 และระดับต่อไปเป็น
63.1, 447.3 เมกะบิต แต่ทางกลุ่มยุโรปใช้ 64 กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง และจัด
กลุ่มต่อไปเป็น 32 ช่องเสียงคือ 2.048 เมกะบิต ที่รู้จักกันในนาม E1 และจัดกลุ่ม
ใหญ่ขึ้นเป็น 8.44, 34.36 เมกะบิต
การวางมาตรฐานใหม่สำหรับเครือข่ายความเร็วสูงจะต้องรองรับการใช้งานต่าง ๆ
ทั้งเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณมัลติมีเดียอื่น ๆ เช่น สัญญาณโทรทัศน์
ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกได้ คณะกรรมการจัดการมาตร
ฐาน SDH จึงรวมแนวทางต่าง ๆ ในลักษณะให้ยอมรับกันได้ โดยที่สหรัฐอเมริกา
เรียกว่า SONET ดังนั้นจึงอาจรวมเรียกว่า SDH/SONET การเน้น SDH/SONET
ให้เป็นกลางที่ทำให้เครือข่ายประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ วิ่งลงตัวได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากโครงข่ายของ SDH/SONET ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยวางแถบ
กว้าง พื้นฐานระดับต่ำสุดไว้ที่ 51.84 เมกะบิต โดยที่ภายในแถบกว้างนี้จะเป็นเฟรม
ข้อมูลที่สามารถนำช่องสัญญาณเสียงโทรศัพท์ หรือการประยุกต์อื่นใดเข้าไปรวมได้
และยังรวมระดับช่องสัญญาณต่ำสุด 51.84 เมกะบิตนี้ให้สูงขึ้น เช่นถ้าเพิ่มเป็นสาม
เท่าของ 51.84 ก็จะได้ 155.52 ซึ่งเป็นแถบกว้างของเครือข่าย ATM
โมเดลของ SDH แบ่งออกเป็นสี่ชั้น เพื่อให้มีการออกแบบและประยุกต์เชื่อมต่อ
ได้ตามมาตรฐานหลัก
ชั้นแรกเรียกว่าโฟโตนิก เป็นชั้นทางฟิสิคัลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง
และอุปกรณ์ประกอบทางด้านแสง
ชั้นที่สอง เป็นชั้นของการแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือในทางกลับ
กัน เมื่อแปลงแล้วจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ชั้นนี้ยังรวม
ถึงการจัดรูปแบบเฟรมข้อมูล ซึ่งเป็นเฟรมมาตรฐาน แต่ละเฟรมมีลักษณะชัดเจนที่
ให้อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งสามารถซิงโครไนซ์เวลากันได้ เราจึงเรียกระบบนี้ว่า
ซิงโครนัส
ชั้นที่สามเป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวมและการแยกสัญญาณ ซึ่งได้แก่วิธีการมัลติเพล็กซ์
และดีมัลติเพล็กซ์ เพราะข้อมูลที่เป็นเฟรมนั้นจะนำเข้ามารวมกัน หรือต้องแยกออก
จากกัน การกระทำต้องมีระบบซิงโครไนซ์ระหว่างกันด้วย
ชั้นที่สี่ เป็นชั้นเชื่อมโยงขนส่งข้อมูลระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังปลายทางอีกด้าน
หนึ่ง เพื่อทำให้เกิดวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไป
ยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจึงเสมือนเชื่อมโยงถึงกันในระดับนี้
เพื่อให้การรับส่งระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังอีกปลายทางด้านหนึ่งมีลักษณะสื่อ
สารไปกลับได้สมบูรณ์ การรับส่งจึงมีการกำหนดแอดเดรสของเฟรมเพื่อให้การรับ
ส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง กำหนดโมดูลการรับส่งแบบซิงโครนัส ที่เรียกว่า STM –
Synchronous
Transmission Module โดย เฟรมของ STM พื้นฐาน มีขนาด 2430 ไบต์ โดยส่วนกำหนด
หัวเฟรม 81 ไบต์ ขนาดแถบกว้างของการรับส่งตามรูปแบบ STM จึงเริ่มจาก 155.52 เม
กะบิตต่อวินาที ไปเป็น 622.08 และ 2488.32 เมกะบิตต่อวินาที จะเห็นว่า STM ระดับแรกมี
ความเร็ว 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็น 3 เท่าของแถบกว้างพื้นฐานของ SDH ที่ 51.84
เมกะบิตต่อวินาที STM จึงเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน SDH ด้วย
เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ผู้ออกแบบมาตรฐาน SDH ต้องการให้เป็นทางด่วนข้อมูล
ข่าวสาร ที่จะรองรับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอัตราการส่งสัญญาณกันเป็น T1, T3,
หรือ E1, E3 ขณะเดียวกันก็รองรับเครือข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode)
ที่ใช้ความเร็วตามมาตรฐาน STM ดังที่กล่าวแล้ว โดยที่ SDH สามารถเป็นเส้นทางให้กับ
เครือข่าย ATM ได้หลาย ๆ ช่องของ ATM ในขณะเดียวกัน
SDH จึงเสมือนถนนของข้อมูลที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเพื่อรองรับแถบกว้างของ
สัญญาณสูง ขณะเดียวกันก็ใช้งานโดยการรวมสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาร่วมใช้
ทางวิ่งเดียวกันได้ SDH จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เสมือนหนึ่งเป็นถนนเชื่อมโยง
ที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญคือ ถนนเหล่านี้จะเป็นทางด่วนที่รองรับการประยุกต์
ใช้งานในอนาคต SDH หรือทางด่วนข้อมูล จะเกิดได้หรือไม่ คงต้องคอยดูกันต่อไป

เอกสารอ้างอิง :http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/sdh.htm

สายใยแก้วนำแสง
สาย สัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันมี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่
ช้ประเภทแรกคือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ
(Conductive Metal) เช่น สายคู่บิดเกลียว (Twisted
Pairs) และสายโคแอ็กซ์ (Coaxial Cable) ซึ่งปัญหา
ของสายที่มีตัวนำเป็นโลหะนั้นก็คือ สัญญาณที่วิ่งอยู่
ภายในสายนั้น อาจจะถูกรบกวนได้โดยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าแหล่งต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟ
ฟ้าต่าง ๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งปรากฏ
การณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสาย
เป็นระยะทางไกลมาก ๆ เช่น ระหว่างประเทศจะมีการ
สูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น จึงต้องใช้อุปกรณ์สำหรับ
ทวนสัญญาณติดเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีการ
คิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ ซึ่งใช้ตัวนำซึ่ง
ไม่ได้เป็นโลหะขึ้นมาก็คือ สายใยแก้วนำแสง (Fiber
Optic) ซึ่งใช้สัญญาณแสงในการส่งสัญญาณไฟฟ้า
ทำให้การส่งสัญญาณไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็ก
ไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยังคงทนต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย
และตัวกลางที่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณแสงก็คือ
ใยแก้วซึ่งมีขนาดเล็กและบางทำให้ประหยัดพื้นที่
ไปได้มาก สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการ
สูญเสียของสัญญาณน้อย ทั้งยังให้อัตราข้อมูล
(Bandwidth) ที่สูงยิ่งกว่าสายแบบโลหะหลายเท่าตัว
โครงสร้างของใยแก้วนำแสง
ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วย
ส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรง
กลางหรือชั้นในแล้วหุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding)
แล้วถูกห่อหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่ง
โดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของ
แสงต่าง กัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเห
และสะท้อนกลับหมดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็น
ส่วนที่ช่วยในการติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น เช่น
Strengthening Fiber ก็เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้สาย
ไฟเบอร์ขาดเมื่อมีการดึงสายในตอนติดตั้งสาย สัญญาณ

แกน (Core)
เป็นส่วนกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วน
นำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าส่วน
ของแคลด ลำแสงที่ผ่านไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อน
ที่ไปตามแกนของเส้นใยแก้วนำแสงด้วย กระบวนการ
สะท้อนกลับหมดภายใน

ส่วนห่อหุ้ม (Cladding)
เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนของแกนเอาไว้ โดยส่วนนี้จะมีดัชนี
หักเหน้อยกว่าส่วนของแกน เพื่อให้แสงที่เดินทางภายใน
สะท้อนอยู่ภายในแกนตามกฎของการสะท้อนด้วยการสะท้อน
กลับหมด โดยใช้หลักของมุมวิกฤติ

ส่วนป้องกัน (Coating/Buffer)
เป็น ชั้นที่ต่อจากแคลดที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้น
ใยแก้วนำแสงและยังใช้ประโยชน์ เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใย
แก้วนำแสง โครงสร้างอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของพลาส
ติกหลาย ๆ ชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัว
ป้องกันจากแรงกระทำภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนี
หักเห เช่น แกนมีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนขอแคลด
และส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนไปภายนอก
และป้องกัน แสงภายนอกรบกวน จะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46
และ 1.52 ตามลำดับ

เอกสารอ้างอิง

http://www.thaiinternetwork.com/chapter/detail.php?id=0043

ข้อสอบ

1. Synchronous Digital Heirarchy ข้อใดถูกต้อง
ก. SDH
ข. ข. DSH
ค. ค.SDE
ง. ง.ถูกทุกข้อ

2. Synchronous Digital Heirarchy หมายถึงข้อใด
ก. การวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัส
ข. ตัวส่งสัญญาณ
ค. ตัวรับสัญญาณ
ง. ผิดทุกข้อ

3. โดยปกติใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายใน
เป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม และมีอะไรที่ใช้ในการบอกตำแหน่ง
ก. ซิงค์
ข. สายเคเบิ้ล
ค. สายโทรศัพท์
ง. ถูกทุกข้อ

4. ในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณเสียง มีกี่ช่อง
ก. 24 ช่อง
ข. 25 ช่อง
ค. 26 ช่อง
ง. 27 ช่อง

5. โมเดลของ Synchronous Digital Heirarchy แบ่งออกกี่ชั้น
ก. 4 ชั้น
ข. 5 ชั้น
ค. 6 ชั้น
ง. 7 ชั้น

6. ชั้นแรกโมเดลของ Synchronous Digital Heirarchy
เรียกอีอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. โฟโตนิก
ข. ลิงค์
ค. ซิงค์
ง. ผิดทุกข้อ

7. การแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้าอยู่ในชั้นที่เท่าไร
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

8. การรวมและการแยกสัญญาณอยู่ในชั้นที่เท่าไร
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

9. ประเทศใดเรียกเส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลักเป็น SONET
ก. อังกฤษ
ข. อเมริกา
ค. อินเดีย
ง. จีน

10. กลุ่มยุโรปใช้ กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง
ก. 64 กิโลบิต
ข. 65 กิโลบิต
ค. 66 กิโลบิต
ง. 67 กิโลบิต

8/24/2551

การสอบ CCNA

การสอบ CCNA

- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ network media

- การคอนฟิก router เบื้องต้นโดยใช้ Cisco IOS commands

- การติดตั้ง และคอนฟิกเน็ตเวิร์กบน LAN, WAN

- เข้าใจ และสามารถคอนฟิก routable protocols (IP, IPX, Apple Talk, etc.)

- เข้าใจ และสามารถคอนฟิก routing protocols (RIP, IGRP, EIGRP, etc.)

- ระบบความปลอดภัยบนเน็ตเวิร์กสถานที่คือกรุงเทพกับเชียงใหม่ส่วนค่าใช้จ่ายในการสอบ ประมาณ 8900

การสอบ CCNP

CCNP certification (Cisco Certified Network Professional) เป็น Network
Specialist Certification ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ผู้ที่ได้รับ CCNP Certified นั้นมีความสามารถ


ในการติดตั้ง, ปรับแต่งและแก้ปัญหากับอุปกรณ์ Routers Router, LAN Switching ตลอดจน
Access Server
ในระดับ enterprise ขององค์กรได้ ทั้งนี้ข้อสอบใหม่ จะเน้นหัวข้อเนื้อหาใหม่ในด้าน


security,converged networks, quality of service (QoS), virtual private networks
(VPN) และ broadband technologies.

ในการสอบ CCNP มีทั้งหมด 4 วิชาราคาสอบอยู่ที่ประมาณ 6,450 บาทครับ ทุกวิชาเท่ากันหมดครับ

สถานที่สอบที่ VNOHOW

การสอบ CCIE
CCIE - Cisco Certified Internetwork Expert CCIE เป็น Cert ระดับสูงของ cisco โดยจะมี
4 Track ย่อยๆ แบ่งไปตามลักษณะของการทำงาน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Cisco โดยแต่ละ Track จะแยก

จากกันอย่างสิ้นเชิง หากต้องการทำงานในด้านใดในระดับสูง ก็เลือกจากข้อสอบในส่วนนี้Track ย่อยประกอบ
ไปด้วยCCIE Service Provider CCIE Routing and Switching CCIE Security CCIE
VoiceCisco Certified Internetwork Expert (CCIE) เป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ
Network Installation and Support Certificationและ Communication and Services
Certification
สถานที่สอบ

1. Bangalore (บังกาลอร์,อินเดีย)

2. Beijing (ไบจิง,จีน)

3. Brussels (กรุงบรัสเซล,เบลเยี่ยม)

4. Dubai (ดูไบ)

5. Hongkokg (ฮ่องกง)

6. Research Triangle Park (RTP)

7. San Jose (สองสถานที่ข้างต้น 6,7 อยู่แถวๆโซนอเมริกา)

8. Sao_Paolo (เซ้าเปาโล,บราซิล)

9. Sydney (ซิดนีย์,ออสเตรเลีย)

10. Tokyo (โตเกียว,ญี่ปุ่น)ค่าใช้จ่ายในเรื่อง CCIE Boot CAMP 250000 บาท ค่าสอบ มาคือว่า

Writing ค่าสอบ 300 เหรียญ หรือ 10500 บาทLab ค่าสอบ 1250 เหรียญ หรือ 43750 บาทไหนจะ

ค่าบินไปสอบ ค่ากินก็คงตกอยู่ประมาณ 10000 บาท

สรุปคำสั่ง OSPF

สรุปคำสั่ง OSPF

OSPF เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้บนเน็ตเวิร์ก IP โดยคณะทำงาน Interior Gateway Protocol (IGP) ย่อยแห่งคณะกรรมการ Internet Engineering Task Force (IETF) คณะทำงานนี้ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1998 เพื่อทำหน้าที่ออกแบบเร้าติ้งโปรโตคอลที่ใช้บนเน็ตเวิร์กภายในองค์กร โดยมีพื้นฐานมาจากอัลกอริทึมในทางคอมพิวเตอร์แบบ Shortest Path First (SPF) อัลกอริทึมนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Dijkstra’S Algorithm ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ออกแบบและคิดค้นอับกอริทึมนี้OSPFได้รับการออกแบบมาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆที่เคยมีในเร้าติ้งโปรโตคอลแบบ Distance Vector OSPF นั้นสามารถตอบสนองได้รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเน็ตเวิร์ก และมีการส่ง “triggered updates” ไปในทันทีโดยอัตโนมัติ และส่ง “Periodix update” ไปทุก ๆ ช่วงเวลาเช่น ทุก ๆ 30 นาที นอกจากนั้นยังมีกลไกล ที่ดีในการตรวจสอบสถานการณ์สื่อสาร ระหว่างเร้าเตอร์ปัจจุบันกับเร้าเตอร์ข้างเคียงต่าง ๆ ด้วย “ Hello Mechanism”โดยสรุปแล้ว OSPF มีคุณลักษณะที่สำคัญได้แก่- เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลมาตรฐานและเป็นมาตรฐานสากล ข้อกำหนดและพฤติกรรมต่าง ๆ ได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจนใน RFC (Request for Comments) IETF ได้พัฒนา OSPF ขึ้นมาในปี 1988 ส่วนเวอร์ชันล่าสุดซึ่งรู้จักกันในนาม OSPF เวอร์ชัน 2 ได้รับการอธิบายไว้ใน RFC 2328- เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่อาศัยการอัปเดตสถานะของเน็ตเวิร์กอินเตอร์เฟซไปให้กับเร้าเตอร์เพื่อบ้านแล้วให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านสร้างภาพรวมของเน็ตเวิร์กทั้งหมด และคำนวณหาเส้นทางเอง แต่จะไม่ ส่งเร้าติ้งเทเบิลทั้งตารางไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านเหมือนกันในกรณีของ Distance Vector- มีการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยพิจารณาจากแบนด์วิดธ์ (Bandwidth)-รองรับการตั้งแอดเดรสแบบมีจำนวนบิตของ Subnet Mask ไม่เท่ากัน (Variable Length Subnet Mask: VLSM) และมีการส่ง Subnet Mask ไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านด้วย -รองรับการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “OSPF Area” ซึ่งสามารถทำให้เน็ตเวิร์กที่ใช้งาน OSPF สามารถจัดแบ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นโซนหรือพื้นที่ย่อย ๆ ได้ (เรียกว่าการแบ่ง Area) ทั้งนี้เพื่อจำกัดสโคป หรือขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี-รอบรับการทำ “Route summarization”-รองรับการทำการกระจายแพ็กเก็ตไปบนเส้นทางที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากัน-สามารถทำ “Route authentication” ระหว่างเร้าเตอร์เพื่อตรวจสอบตัวตนซึ่งกันและกันก่อนที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน-ไวมากต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี (Fast convergence) Wireshark เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดักจับ Packet ที่มีการรับส่งกันบนเครือข่าย ในการดักจับ Packet นั้น โปรแกรม Wireshark นั้นจะต้องทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้นNetwork Diagram ที่ใช้ Wireshark ในการดักจับ packet แสดงภาพของ Network Diagram ที่ใช้ในการดักจับ Packet ของการทำงานของ Open Shortest Path First (OSPF) Protocol ซึ่งจะเป็นการติดต่อเปลี่ยนแปลง Update Routing Protocol ระหว่าง Core Switch และ Router ใน Area เดียวกับการค้นหาเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่รัน OSPF จะเกิดขึ้นด้วยการส่งแพ็กเก็ตพิเศษที่เรียกว่า HELLO PACKET ออกไปไปโดยใช้มัลติคาสก์แอดเดรส 224.0.0.5 หลังจากนั้นแอดเดรสของเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่ค้นพบได้จะถูกเก็บไว้ในตาราง OSPF Neighbor Tableผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงหมายเลข IP Address ของเร้าเตอร์ และ Switch ข้างเคียง แต่ละตัวที่ค้นพบได้ทางซีเรียสอินเตอร์เฟซต่างๆ กัน เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านถูกสร้างขึ้นได้สำเร็จ สถานะ (State) ที่เห็นจะอยู่ในสถานะ FULL หลังจากฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างกันได้แล้ว เร้าเตอร์จะมีการส่ง Hello packet ออกไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านทุก ๆ ระยะๆ ตามช่วงเวลาที่เรียกว่า Hello Interval เพื่อยืนยันว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่ หากเร้าเตอร์ไม่ได้ รับ HELLO PACKET มาจาเร้าเตอร์เพื่อนบ้านหลังจากช่วงเวลาที่เรียกว่า Dead Interval ผ่านไปมันตะถือว่าเร้าเตอร์เพื่อนบ้านนั้น ๆ ได้ดาวน์ลงไปรูปแบบของ Hello Packetในการสร้างความสัมพันธ์ของ Protocol OSPF จาก Core Switch ที่มี Source IP Address เป็น 172.18.19.252 ซึ่งมี Destination IP Address เป็น 244.0.0.5 (Multicast Address)BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อเราเตอร์ (Router) และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมน (Domain) กันบนอินเทอร์เน็ตBGP ใช้ Protocol TCP Port หมายเลข 179 เพื่อใช้ในการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร โดยมีการใช้ TCP เพื่อการสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเราเตอร์ BGP ทั้งสอง (Peer Router) จากนั้นก็จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการเปิดสัมพันธไมตรีก่อนที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันต่อไปข้อมูลข่าวสารที่เราเตอร์ทั้งสองใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกัน รวมไปถึงข่าวสารที่แสดงถึงความสามารถในการเข้าถึงกันได้ โดยข่าวสารนี้เป็นในรูปแบบของเลขหมาย AS ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายถือเป็นเส้นทางในการเข้าหากัน ข้อมูลนี้จะช่วยให้เราเตอร์สามารถสร้างผังของเส้นทางที่ปราศจากลูป (Loop) ในการเข้าหากัน อีกทั้งเราเตอร์ยังใช้เพื่อเป็นการกำหนดเส้นทางเชิงนโยบายที่มีเนื้อหาที่กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆจุดประสงค์ของการใช้ BGP1.BGP ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งลูกค้า และผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมทั้งเครือข่ายอื่น ๆ2.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบของ Autonomous ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน3.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในระดับ Enterprise หากองค์กรของท่านมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบหลายเชื่อมต่อเพื่อผลแห่ง Redundancy BGP ก็สามารถทำ Load Balancing Traffic ได้บนเส้นทางที่เป็น Redundant Link4.จัดเลือกเส้นทางผ่านทางเครือข่ายไปยัง Autonomous System อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกัน5.มีการเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System มากกว่า 1 เส้น6.ควบคุมการลำเลียงข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างระบบ Autonomous System7.ท่านยังสามารถใช้ Policy ที่กำหนดให้ท่านสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อเดินทางไปสู่ปลายทางRIP (Routing Information Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของ Internet Gateway Protocol (หรือ Interior Gateway Protocol)การใช้ RIP, gateway host (ที่มี router) จะส่งตาราง routing (ซึ่งมีรายการของ host ทั้งหมดที่ทราบ) ไปยัง host ใกล้เคียงทุก 30 วินาที host ใกล้เคียง จะส่งต่อสารสนเทศไปยัง host ต่อไป จนกระทั่งภายในเครือข่าย จะมีข้อมูลเส้นทางเหมือนกัน สถานะนี้เรียกว่า network convergence การหาระยะของเครือข่าย RIP ใช้การนับแบบ hop เป็นวิธีการในการค้นหา (โปรโตคอลอื่นใช้อัลกอริทึมที่ทันสมัยกว่า เช่น เวลา) แต่ละ host ที่มี router ในเครือข่ายใช้ตารางสารสนเทศ routing ในการค้นหา host ต่อไป เพื่อหาเส้นทางให้กับแพ็คเกต สำหรับปลายทางที่กำหนดRIP ได้รับการพิจารณาว่าคำตอบที่มีประสิทธิผล สำหรับเครือข่าย homogeneous ขนาดเล็ก สำหรับเครือข่ายที่ซับซ้อน การส่งผ่านตาราง routing ทุก 30 วินาทีของ RIP อาจจะทำให้จำนวนรวม ของการใช้เครือข่ายหนาแน่นขึ้น

8/05/2551

สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2

1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง อธิบายให้ละเอียด
ตอบ 1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้างRouting มีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่
- แบบสเตติก (Static Route)
- แบบไดนามิก (Dynamic Route)

Static คือการเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง

การจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]
-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง
-Mask หมายถึงค่า Subnet mask
-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป

-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง
-Distance หมายถึง Administrative Distance
-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม

dynamic คือ
Exterior Gateway Routing Protocol
Distance Vector Routing Protocol
Link State Routing Protocol
เนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกัน

ระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorDistance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)
หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้น ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing

Information Protocol
Link State Routing
Link State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)"
Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง
Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกัน ด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่ายการจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamic ในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้


Router (config)#router protocol [keyword]
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่ง
Protocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRP
Keyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous

ได้แก่ โปรโตคอล IGRP คำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้


Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC


2.จงบอกคำสั่งในแต่ละโหมดมาอย่างน้อย 5 คำสั่ง

ตอบ คำสั่ง
access-enable
เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect
ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable
ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
enable
เข้าสู่ privileged Exec mode
exit
ออกจากการใช้ User Exec mode
help
ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat
เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock
ใช้เพื่อ lock terminal
login
เข้ามาเป็น userlogout
login
exit ออกจาก EXE
Cmrinfo
ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก
multicast router ตัวหนึ่ง
mstat
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace
ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection
เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad
เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping
ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ppp
ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume
ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin
เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show
แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Routerในปัจจุบัน
slip
เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat
เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet
เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal
เป็นการจัดParameter ของ Terminal Line
traceroute
เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel
เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where
แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Activeในปัจจุบัน

3. Command prompt ในโหมดต่างๆ

ตอบ
Command Mode
Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่
User Exec Mode
Privileged Exec Mode
Global ConfigurationMode
Interface Configuration
Boot Mode


4. Use exec mode พร้อมรายละเอียด


ตอบ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่
User Exec Mode
Privileged Exec Mode
Global Configuration Mode
Interface Configuration
Boot Mode
User Exec Mode
User Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วย

เครื่องหมาย > เช่น
Routerhostname >
ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
ตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commandsคำสั่ง
access-enable เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable เข้าสู่ privileged Exec mode
exit ออกจากการใช้ User Exec mode
help ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock ใช้เพื่อ lock terminal
login loginเข้ามาเป็น user
logout exit ออกจาก EXEC
mrinfo ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ppp ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบPPP
resume ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
systat เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน


5.คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของRout จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่ง


1.access-enable เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
2.clear เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
3.connect ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal disableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
4.disconnect ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network enable เข้าสู่ privileged Exec mode
5.exit ออกจากการใช้ User Exec mode
6.help ใช้เพื่อแสดงรายการ help
7.lat เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
8.lock ใช้เพื่อ lock terminal
9.login loginเข้ามาเป็น user logoutexit ออกจาก EXEC
10. mrinfo ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
11.mstat แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
12.mtrace ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
13.name-connection เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
14.pad เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
15.Ping ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
16.ppp ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
17.resume ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
18.rlogin เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
19.show แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
20.slip เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)
21.systat เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
22.telnet เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
23.terminal เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
24.traceroute เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
25.tunnel เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
26.where แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน


6. การเลือกเส้นทางแบบ Static คืออะไร

ตอบ การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูก ป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่ายเข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว-ไม่ ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการ เดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จัก เท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มี ตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]
-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง-Mask หมายถึงค่า Subnet mask
-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป
-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง
-Distance หมายถึง
Administrative Distance-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม

7. การเลือกเส้นทางแบบ Dynamicคืออะไร

ตอบ dynamic คือ ประเภทของโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้ Exterior Gateway Routing Protocol Distance Vector Routing Protocol Link State Routing Protocol เนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกัน ระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียง บางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance
Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำ แพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorDistance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการ เลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน) หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมัน โดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของ เวลาที่แน่นอน Distance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้น ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information Protocol Link State
RoutingLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมัน โดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกัน ด้วยวิธีการของ Link
State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest
Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมด ที่อยู่ในเครือข่าย การจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamic ในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้ Router (config)#router protocol [keyword]
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่ง Protocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRPKeyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมัน สามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิด กระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC


8. Protocal ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้าง

ตอบ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
1. Interior Gateway Routing Protocol
2.Exterior Gateway Routing Protocol
3. Distance Vector Routing Protocol
4. Link State Routing ProtocolInterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter

ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยน
ฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับ ระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึง สถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบ เครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถ เลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของ ตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการ เลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วยประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรง Routing Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway

Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้ง โปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลาย ด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่ง เปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดีEnhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการ ค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)

9. อธิบาย Protocal Distance Vector ให้เข้าใจ

ตอบ ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้ พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก จากรูป Router A จะทราบว่าถ้าต้องการ ส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะ ที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การ เดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่าง ออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพ ของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการ ปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปใน เครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น

10. Protocol BGP คืออะไรมีหลักการทำงานอย่างไร

ตอบ Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง
gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่า มีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol


11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิด


ตอบ ชนิดคือไฟเบอร์ออฟติค

12. สัญญาณแก้วใยแก้วนำแสงต่างๆ

ตอบ อนาล็อกกับดิจิตอล

13. จงบอกข้อดีของเส้นใยแก้วนำแสง

1. มีน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม ซึ่งเหมาะมากสำหรับใช้งานในยานอวกาศ และรถยนต์
2. เส้นใยแสง 1 เส้น สามารถที่จะมีช่องสัญญาณเสียงได้มากเท่ากับ 1500 คู่สาย
3. ความห่างของตัวขยายสัญญาณสำหรับเส้นใยแสงมีค่าตั้งแต่ 35 ถึง 80 กิโลเมตร ซึ่งตรงข้ามกับสายธรรมดา ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึงแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น
4. เส้นใยแสงจะไม่มีการรบกวนจากฟ้าแลบ และการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


14. ขนาดของ core และ cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด

ตอบ แท่งควอร์ต ซึ่งผ่านกระบวนการ Modefied Chemical Vapor Deposition (MCVD) แล้วจะถูกวางใน
แนวตั้งในหอดึง (Drawing Tower) ซึ่งจะถูกให้ความร้อนต่ออีก (2200 F) และถูกดึงลงด้านล่าง โดยหลักการของการ หลอมเหลวควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และขบวนการการดึง เพื่อจะทำให้เส้นใยแสงคุณภาพสูง มีความยาวประมาณ 6.25 กิโลเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 125 ไมโครเมตร ศูนย์กลางซึ่งถูกเรียกว่า แกน หรือ CORE (เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ไมโครเมตร) จะถูก ล้อมรอบด้วยควอร์ตที่บริสุทธิ์น้อยกว่า ซึ่งถูกเรียกว่า ชั้นคลุม หรือ cladding (ขอบเขตประมาณ 117 ไมโครเมตร


15. การเชื่อมต่อดดยวิธีการหลอมรวม ทำได้โดยวิธีใด

ตอบ การเชื่อมต่อแบบหลอมรวม เป็นการเชื่อมต่อ Fiber Optic สองเส้นเข้าด้วยกัน โดยการให้ความร้อนที่ปลายของเส้น Fiber Optic จากนั้นปลายเส้น Fiber Optic จะถูกดันออกมาเชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อกันในลักษณะนี้ เป็นการเชื่อมต่อโดย ถาวร จนทำให้ดูเหมือนรวมเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียจากการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะทำให้มีความสูญเสีย ประมาณ 0.01 - 0.2 dB ในขั้นตอนการเชื่อมต่อนี้ ความร้อนที่ทำให
ปลายเส้น Fiber Optic อ่อนตัวลงด้วยประกายไฟที่เกิดจากการ Arc ระหว่างขั้ว Electrode ขณะทำการ หลอมรวม ซึ่งจะยังผลให้การเชื่อมต่อของ Fiber Optic




7/22/2551

เราเตอร์ (Router)


ข้อสอบ ปรนัย เรื่อง Router

1.ข้อดีของไฟร์วอลล์ เราเตอร์คือข้อใด
ก. เพิ่มฟังก์ชันการทำงานได้ไม่จำกัด
ข. ประสิทธิภาพสูงมีจำนวนอินเตอร์เฟสมาก
ค. อาจมีความเสี่ยงจากระบบปฏิบัติการที่ใช้
ง. อาจต้องการหน่วยความจำมาก

2.เราเตอร์ (Router) มีประโยชน์อย่างไร
ก.สามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ก็เรียกว่า "เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
ข.เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด
ค.อุปกรณ์เชื่อมโยง ทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต
ง.มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก

3.เราเตอร์ (Router) คืออะไร
ก.เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้
ข.อุปกรณ์สวิตช์มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า "เซล" (Cell)
ค.เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน
ง.ถูกทุกข้อ

4.เราเทอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่เท่าไร
ก. เลเยอร์ที่1 ตามมาตรฐานของ OSI Model
ข. เลเยอร์ที่2 ตามมาตรฐานของ OSI Model
ค. เลเยอร์ที่3 ตามมาตรฐานของ OSI Model
ง. เลเยอร์ที่4 ตามมาตรฐานของ OSI Model

5.อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียอีกอย่างว่าอะไร
ก.เอทีเอ็มสวิตช์(ATM Switch)
ข.เซลสวิตช์" (Cell Switch)
ค.เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
ง.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล(Data Switched Packet)

6.Router เป็นตัวชี้ทางเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตไปยัง
ก.Network
ข. User
ค.ISP
ง. Email

7ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย
ก.บริดจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์ (Switch)
ง.แลนด์ (Lan)

8.เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับอะไร
ก.ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)
ง.สวิตช์ (Switch)

9.ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่าอะไร
ก. ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข. เราเตอร์ (Router)ค
ค. สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)

ง. สวิตช์ (Switch)

10.ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่าอะไร
ก. ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค. สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล (Data Switched Packet)
ง. สวิตช์ (Switch)



7/08/2551

การเข้าสาย LAN

การเข้าสาย LAN

การเข้าหัวสาย UTP นั้นมีอยู่สองมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้คือ TIA/EIA 568A และ 568B ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียงลำดับสายจะแสดงดังตารางและรูปด้านล่าง





PIN #

Signal

TIA/EIA 568A

TIA/EIA 568B

1

Transmit+

ขาวเขียว

ขาวส้ม

2

Transmit+

เขียว

ส้ม

3

Receive+

ขาวส้ม

ขาวเขียว

4

N/A

น้ำเงิน

น้ำเงิน

5

N/A

ขาวน้ำเงิน

ขาวน้ำเงิน

6

Receive+

ส้ม

เขียว

7

N/A

ขาวน้ำตาล

ขาวน้ำตาล

8

N/A

น้ำตาล

น้ำตาล




















สาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45

การทำสายแพทช์คอร์ดหรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์นั้น ปลายทางทั้งสองข้างจะต้องเข้าตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ส่วนสายครอสโอเวอร์หรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับฮับหรือคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์นั้น ปลายสายด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ TIA/EIA 568A ส่วนปลายสายอีกด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ TIA/EIA 568B



สายเคเบิ้ลในการเชื่อมต่อ

ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media) ซึ่งการใช้งานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่นแบบ Bus จะใช้สายเคเบิ้ล Coaxial, แบบ Star จะใช้สายเคเบิ้ล UTP สายเคเบิ้ลที่ใช้งานในระบบเน็ตเวิร์กจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ

สาย Coaxial เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนสายยาง โดยจะมีลวดถักหุ้มฉนวนสายยางอีกชั้น (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้ายนอกเป็นยาง สีดำหุ้มอีกชั้น จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin) ส่วนมากจะใช้งานบนระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้ง 2 ด้ายจะต้องมีตัว terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำกว่าสายแบบ UTP สาย Coaxial อย่างบาง (thin) มีข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร อาจต้องใช้ตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ช่วยขยายสัญญาณให้


สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps


สาย STP (Shielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นคู่ตีเกลียวมีอยู่ 2 คู่ มีเส้นลวดถัก (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางไกลๆ ซึ่งสาย UTP ทำไม่ได้


หัวต่อสายแลนด์
วต่อสายแลนด์จะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ BNC, RJ-45 และ AUI แต่ละประเภทจะใช้สายแลนด์แตกต่างกันไป รวมทั้งวิธีการเข้าหัวต่อก็ไม่เหมือนกัน


หัวต่อแบบ BNC จะใช้สายแลนด์แบบ Coaxial ซึ่งเป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดง เป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนสายยาง หัวต่อ BNC จะเป็นโลหะรูปวงกลมมีเกลียวสำหรับล๊อก และยังต้องใช้ตัว Terminator (มีความต้ายทาน 50 โอห์ม) ปิดปลายสายทั้ง 2 ด้ายอีกด้วย


หัวต่อแบบ RJ-45 จะใช้สายแลนด์แบบ CAT (Category) 5 หรือ สาย UTP เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้น ตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ รูปแบบในการเข้าหัวต่อแบบ RJ-45 มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

1. Peer to peer
2. มาตรฐาน TIA/EIA 568B


Peer to peer เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง ด้วยสาย UTP เพียง 1 เส้น โดยเสียบหัวต่อ RJ-45 ไปที่การ์ดเน็ตเวิร์กของทั้งสองเครื่อง รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวต่อ RJ-45

มาตรฐาน TIA/EIA 568B เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ ฮับ รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวตัว RJ-45

การเชื่อมต่อแบบ BUSโปรโตคอล Ethernet สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus โดยใช้สาย Coaxial และแบบ Star ใช้สายทองแดงคู่ดีเกลียว (สาย UTP) การเชื่อมต่อแบบ Bus จะเป็นตามมาตรฐานของ 10Base2 เป็นรูปแบบเชื่อมต่อสายโดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) มีเส้นศูนย์กลาง ? นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร บางทีก็เรียกสาย Coaxial ว่าสาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) การเชื่อมต่อแบนี้ไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลาง ทำให้มีต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพการทำงานจะไม่ดีเท่าที่ควร วิธีการเชื่อมต่อสายระหว่างจุดต่อจะใช้ตัว T-Connector เป็นตัวกลาง และจะมีหัวต่อ BNC สำหรับต่อเข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก และสิ่งสำคัญจะต้องมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้าน


ปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ Bus ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน เพราะมีความเร็วต่ำเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีและข้อจำกัดด้านความยาวของสาย

ฮับ (Hub) ฮับ เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมโยงสัญญาณของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน ปกติจะเป็นเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT รูปแบบการเชื่อมต่อ หรือ LAN Topology จะเป็นแบบ Star การเชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ฮับเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ ทุกเครื่องจะเชื่อมต่อผ่ายฮับและใช้สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือ CAT5 กับหัวต่อแบบ RJ-45 ในการรับ-ส่งข้อมูล ฮับ จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) และฮับบางรุ่นยังสามารถตรวจจับข้อมูล (Data Detection) ต่างๆ เช่น Receive Sent Data, Jabbers, Collision Data, Short Frames

ฮับ จะอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 10 Mbps (Mega Bit per sec.) จนถึง 100 mbps และจะมีจำนวนช่องขนาดเล็กตั้งแต่ 4 ช่อง หรือเรียกว่า ฮับ 4 port (8 port, 12 port,16 port และ 24 port) การเลือกใช้การ์ดเน็ตเวิร์กก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับความเร็วของฮับ ถ้าใช้การ์ดเน็ตเวิร์กที่มีความเร็วเพียง 10 Mbps แล้วนำมาเชื่อมต่อกับฮับแบบ 10 Mbps จะทำให้มีอัตราความเร็วเพียง 10 Mbps เท่านั้น (หรือ ใช้การ์ดเน็ตเวิร์กที่มีความเร็ว 10 Mbps กับฮับแบบ 10 Mbps ก็จะทำให้อัตราความเร็วต่ำที่ 10 Mbps เช่นกัน) ฮับบางรุ่นจะมีพอร์ต Uplink เอาไว้เชื่อมต่อกับพอร์ตธรรมดาของฮับตัวอื่นเพื่อขยายช่องสัญญาณ และยังมีสวิตซ์ในการเลือกความเร็วระหว่าง 10 หรือ 100 Mbps

การเชื่อมต่อแบบ Starการเชื่อมต่อแบบ Star จะเป็นตามมาตรฐานของ 10BaseT เป็นรูปแบบการใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band จะใช้สาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน 4 คู่ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน) ปัจจุบันนิยมใช้การเชื่อมต่อแบบนี้มากที่สุด